มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

"สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร/เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก"

ภาคปกติ ปีการศึกษา 2568


คลิก...ที่ชื่อสาขาวิชา


คณะครุศาสตร์
ค.บ.ภาษาไทย | ค.บ.ภาษาอังกฤษ | ค.บ.สังคมศึกษา | ค.บ.คณิตศาสตร์ | ค.บ.วิทยาศาสตร์ทั่วไป | ค.บ.การศึกษาปฐมวัย | ค.บ.พลศึกษา | ค.บ.การศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย | ค.บ.จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ค.บ.ภาษาจีน (ค.บ.) | ศศ.บ.ภาษาไทย | ศศ.บ.ภาษาอังกฤษ | ศศ.บ.ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจบริการ | ศศ.บ.สวัสดิการสังคม | วท.บ.ภูมิสารสนเทศ | รป.บ.รัฐประศาสนศาสตร์(นโยบายสาธารณะและนวัตกรรมทางการบริหาร) | รป.บ.รัฐประศาสนศาสตร์(การจัดการปกครองท้องถิ่น) | รป.บ.รัฐประศาสนศาสตร์(การบริหารงานยุติธรรมและกฎหมาย) | ศศ.บ.การพัฒนาชุมชน | ศศ.บ.ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม | ศศ.บ.อินโดนีเซีย-มาเลเซียศึกษาเพื่องานระหว่างประเทศ |
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ค.บ.คอมพิวเตอร์ศึกษา (ค.บ.) | ค.บ.ฟิสิกส์ (ค.บ.) | วท.บ.ฟิสิกส์ประยุกต์ | วท.บ.วิทยาการคอมพิวเตอร์ | วท.บ.เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล | วท.บ.ชีววิทยา | วท.บ.คหกรรมศาสตร์ | วท.บ.เทคโนโลยีชีวภาพ | วท.บ.คณิตศาสตร์ | วท.บ.เคมี | วท.บ.วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม | ส.บ.สาธารณสุขชุมชน |
คณะวิทยาการจัดการ
บธ.บ.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ | บธ.บ.การบริหารทรัพยากรมนุษย์ | บธ.บ.การตลาด | บธ.บ.การจัดการ | กจ.บ.การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว | นศ.บ.นิเทศศาสตร์ | ศ.บ.พัฒนาธุรกิจ | บช.บ.การบัญชี | บธ.บ.การจัดการนวัตกรรมการค้า (สาขาวิชานี้ไม่เข้าระบบ TCAS 68) | กจ.บ.ผู้ประกอบการท้องถิ่น |
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ทล.บ.เทคโนโลยีการผลิตพืช | ทล.บ.เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ | ทล.บ.นวัตกรรมอาหารและการจัดการธุรกิจ (หลักสูตรสหวิทยาการ) | ทล.บ.นวัตกรรมอาหารแะการจัดการธุรกิจ (หลักสูตรสหวิทยาการ) (เทียบโอน) | วท.บ.เกษตรศาสตร์ | วท.บ.เกษตรศาสตร์ (เทียบโอน) | วท.บ.เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร | วท.บ.เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร (เทียบโอน) | วท.บ.เทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ | วท.บ.เทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ (เทียบโอน) |
คณะศิลปกรรมศาสตร์
ศป.บ.ดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน | ศป.บ.นาฏศิลป์และการแสดง | ศป.บ.ทัศนศิลป์ | ศป.บ.การออกแบบ | ดศ.บ.ดุริยางคศิลป์ตะวันตก |
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
วศ.บ.วิศวกรรมโลจิสติกส์ | ทล.บ.เทคโนโลยีอุตสาหการ | อส.บ.เทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม(ต่อเนื่อง) | ทล.บ.เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม(ต่อเนื่อง) | อส.บ.เทคโนโลยีสารสนเทศและไอโอที (ต่อเนื่อง) |


คณะเทคโนโลยีการเกษตร

"ความรู้คู่คุณธรรมนำวิชาชีพสู่การพัฒนาท้องถิ่น"

คณะเทคโนโลยีการเกษตรเป็นแหล่งวิชาการเพื่อผลิตบัณฑิตและนำวิชาชีพเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สาขาวิชา เทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ (เทียบโอน)

หลักสูตร : วิทยาศาสตรบัณฑิต

คุณสมบัติผู้สมัคร : อนุปริญญา หรือปวส. ทางด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิตสัตว์น้ำ หรือ สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาเกี่ยวกับ : หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ในรูปแบบ OBE จัดการเรียนการสอน 3.5 ปี เน้นการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ การเลี้ยง การแปรรูป และการจัดการธุรกิจสัตว์น้ำ ออกแบบเป็นชุดวิชา มี 3 ชุดวิชา ได้แก่ 1)ชุดวิชานักเพาะพันธุ์ อนุบาลและเลี้ยงสัตว์น้ำ 2)ชุดวิชานักแปรรูปสัตว์น้ำ และ 3) ชุดวิชานักธุรกิจสัตว์น้ำ เพื่อรองรับการจัดหลักสูตรระยะสั้น เป็นหลักสูตรที่มี certificate รองรับระบบคลังหน่วยกิต ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต มีการสอนแบบ CWIE ในรูปแบบรายวิชา และยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาในชั้นปีที่ 1 สามารถเพาะ ฟัก อนุบาล เลี้ยงสัตว์น้ำได้ ชั้นปีที่ 2 สามารถจัดการฟาร์มและแปรรูปสัตว์น้ำได้ ชั้นปีที่ 3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน และในชั้นปีที่ 4 สามารถเป็นนักธุรกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจสัตว์น้ำและธุรกิจต่อเนื่องได้ นอกจากนี้ยังเสริมทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอาชีพสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน สามารถทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อผลิตและแปรรูปสัตว์น้ำได้

โอกาสในการประกอบอาชีพ : ภาครัฐ 1. นักวิชาการประมง 2. นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ 3. นักวิชาการพัฒนาชุมชน (ท้องถิ่น) 4. นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ ภาคเอกชน 1. นักวิชาการ/ผู้จัดการประจำฟาร์มสัตว์น้ำ 2. นักวิชาการ/ผู้จัดการโรงเพาะฟักพันธุ์สัตว์น้ำ 3. นักวิชาการประจำห้องปฏิบัติการฟาร์มสัตว์น้ำ 4. เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตและจัดซื้อ/วิเคราะห์วัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำ 5. พนักงานส่งเสริมการขายสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ อื่น ๆ 1. ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการผลิตสัตว์น้ำ 2. ผู้ประกอบอาชีพอิสระด้านการผลิตสัตว์น้ำ

ค่าเทอม : ภาคเรียนละ 11,000 บาท (ยกเว้นนักศึกษาใหม่ภาคเรียนที่ 1 ค่าธรรมเนียมอื่นๆ รวมเป็นเงินประมาณ 12,250 - 16,350 บาท)

จำนวนรับทั้งหมด : 15

TCAS รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน : จำนวนรับ 10 คน
: คุณสมบัติของผู้สมัคร : อนุปริญญา หรือปวส. ทางด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิตสัตว์น้ำ หรือ สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เกณฑ์พิจารณา : GPAX และแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

TCAS รอบที่ 2 โควตา : จำนวนรับ 2 คน
: คุณสมบัติของผู้สมัคร : อนุปริญญา หรือปวส. ทางด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิตสัตว์น้ำ หรือ สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เกณฑ์พิจารณา : GPAX (100%)

TCAS รอบที่ 3 Admission : จำนวนรับ 3 คน
: คุณสมบัติของผู้สมัคร : อนุปริญญา หรือปวส. ทางด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิตสัตว์น้ำ หรือ สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เกณฑ์พิจารณา : GPAX และแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เกณฑ์พิจารณา : GPAX (100%)

TCAS รอบที่ 4 รับตรง ครั้งที่ 1 : จำนวนรับ 0 คน

TCAS รอบที่ 4 รับตรง ครั้งที่ 2 : จำนวนรับ 0 คน